เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวเกี่ยวกับเด็กที่ก่อเหตุอาชญากรรมจนกลายเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมว่า เด็กควรรับโทษเทียบเท่าผู้ใหญ่หรือไม่? บางคนเชื่อว่า “ความผิดก็คือความผิด” แต่ในขณะเดียวกันก็มีเสียงสะท้อนว่า การลงโทษอย่างรุนแรงกับเด็กอาจไม่ใช่คำตอบ
.
ในหลายประเทศทั่วโลก กำหนดอายุขั้นต่ำของการรับผิดชอบทางอาญาไว้ที่ 15 ปี เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ยังไม่เจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างเต็มที่ วุฒิภาวะและความสามารถในการตัดสินใจยังไม่สมบูรณ์ การกระทำที่ผิดพลาดของเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เขาเติบโตมา ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ขาดการดูแล หรือชุมชนที่เต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยง การลงโทษจึงอาจไม่ช่วยแก้ไขพฤติกรรม แต่กลับเพิ่มปัญหาในระยะยาว การให้โอกาสพวกเขาเรียนรู้และปรับตัวจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
.
ในประเทศไทย ประมวลกฎหมายอาญากำหนดอายุขั้นต่ำในการรับผิดชอบทางอาญาไว้ที่ 10 ปี เด็กที่อายุต่ำกว่านี้ แม้การกระทำของพวกเขาจะนับเป็น “ความผิด” แต่กฎหมายไม่เอาโทษใด ๆ และสำหรับเด็กอายุ 10-15 ปี หรือ 15-18 ปี ศาลจะใช้มาตรการพิเศษ เช่น การว่ากล่าวตักเตือน การคุมประพฤติ หรือการส่งเข้าสถานฝึกอบรมแทนการลงโทษ
.
อย่างไรก็ตาม อายุขั้นต่ำที่ 10 ปี ยังคงต่ำเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล องค์การสหประชาชาติได้แนะนำในข้อเสนอแนะทั่วไป ฉบับที่ 24 ว่าอายุขั้นต่ำควรอยู่ที่ 12 ปีเป็นอย่างน้อย และควรพิจารณาเพิ่มให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ประเทศไทยจึงควรผลักดันให้เพิ่มอายุขั้นต่ำจาก 12 ปี เป็น 14 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานนี้
.
เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ พวกเขายังอยู่ในช่วงวัยที่ขาดวุฒิภาวะและความรู้สึกผิดชอบชั่วดี การกระทำที่ผิดพลาดอาจเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมหรือการเลี้ยงดูมากกว่าความตั้งใจของเด็กเอง การลงโทษเพียงเพื่อความสะใจของสังคมอาจไม่สร้างประโยชน์อะไร แต่หากเรามุ่งเน้นการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผ่านการเรียนรู้ เด็กเหล่านี้จะมีโอกาสเติบโตเป็นพลเมืองที่ดี
.
การเพิ่มอายุขั้นต่ำไม่ใช่แค่การปรับปรุงกฎหมาย แต่เป็นการยืนยันว่าเด็กทุกคนควรได้รับโอกาสที่ยุติธรรมในการเรียนรู้และแก้ไขความผิดพลาด ชีวิตของพวกเขายังมีโอกาสอีกยาวไกล และหน้าที่ของสังคมคือการมอบโอกาสให้พวกเขากลับมายืนในเส้นทางที่ถูกต้องและเป็นกำลังสำคัญของสังคมในอนาคต
.
CR.
.
#
สายเด็ก1387# #
saidek1387# #
ChildlineThailand# #
เส้นทางขวางฝัน# #
เด็กเร่ร่อน# #
เด็กบนท้องถนน# #
เด็กชายขอบ# #
เด็กชายขอบสังคมเมือง# #
ให้โอกาส# #
ส่งต่อพลังใจ# #
เปลี่ยนมุมมองสังคม# #
VWEF#