Tweets in Worldwide
พีระมิดต้านแก่แบบที่ผิวไร้รอยด่างดำ ที่ผมตกผลึกและเอามาใช้กับตัวเองจริงๆ เป็น How to ที่อยากให้เซฟเก็บไว้ได้เลยครับ เพราะมันค่อนข้างครอบคลุมการต้านแก่ ถึงแม้แผนภาพที่ผมสรุปมาให้นี้จะไม่ได้ครบกลไกยิบย่อยทั้งหมดที่มีบนโลก แต่ผมจัดมาให้ตัวหลักๆทั้งหมดที่ถ้าทำได้ครบตามนี้ก็แทบจะจัดว่าถึงเอาเรื่องแล้วครับ โพสต์นี้ผมรวมสกินแคร์ที่ทำถึง เน้นคัดผลทดสอบวิจัยที่ถึงๆมาประกอบให้ครับ ISDIN ขึ้นแท่นหมด คิดๆดูแล้วเรื่องงานวิจัยสกินแคร์กับตัว Final product อันนี้ผมต้องให้เค้าจริงๆครับ และถือโอกาสลงช่วงก่อน 12.12 เพื่อป้ายยาให้ด้วยเลยครับ (แบรนด์ลดโหดอีกแล้ว -45% ทุกรายการ) กลับเข้าเรื่องครับ ผมเองทำตามแผนภาพตั้งแต่ A, B, C, D จน E มาตลอดหลายปี จนพิสูจน์ด้วยตัวเองแล้วว่ามันเวิร์คมาก ใครที่รู้อายุจริงของผมก็จะเข้าใจดีกว่าที่ผมพูดมาไม่ได้เกินจริงเลย แต่ไม่ต้องถามผมหรอกนะครับ ไม่บอก 555 ยังไงก็ดี ผมไม่ได้ดูแลตัวเองแค่ใช้สกินแคร์อย่างเดียวครับ ยังมีส่วนอื่นๆอีกหลายทาง แต่พูดตรงนี้จากประสบการณ์เลยว่า สกินแคร์สำคัญจริงๆ ถ้าผมขาดการดูแลด้วยแผนภาพอันนี้ ผมมาไม่ได้ขนาดนี้แน่นอน แนะนำให้รวบรวมสกินแคร์ที่มีความสามารถตามพีระมิดนี้ อย่างน้อยๆก็ 6 เดือนนะครับ จะเริ่มเห็นผล และใช้มันอย่างต่อเนื่องเป็นปีๆเลย 3 ปี 5 ปี แล้วลองกลับไปงานรวมรุ่นเทียบหน้ากับเพื่อนๆ จะเห็นเลยว่าเราหน้าเราจะดูอ่อนกว่าเพื่อนมาก แบบมากจริงๆ ____________________________________ [ พีรามิดต้านแก่ ผิวใส ] A = กันแดด ส่วนนี้คือส่วนที่สำคัญที่สุด จำให้ขึ้นใจเลย ไม่ว่าครีมส่วนอื่นๆเราจะลืมทาไปบ้าง แต่ส่วนของกันแดดคือห้ามลืม เพราะต่อให้เราบำรุงผิวดีมากแค่ไหน เราก็ต้านทานการถูกทำลายโดยแสง UV ไม่ไหวหรอกครับ ผิวเราแก่ได้จากหลายสาเหตุก็จริง แต่สาเหตุที่ทำให้ผิวเราแก่ได้เยอะสุดคือแสงแดดครับ B = เติม AOX AOX หรือเรียกเต็มๆ Antioxidant อันนี้หลายคนไม่ค่อยสนใจ แต่มันสำคัญ เพราะร่างการเราจะสร้างอนุมูลอิสระอยู่ตลอดเวลา และยิ่งเจอแสงแดด ยิ่งสร้างอนุมูลอิสระเต็มไปหมด แล้วอนุมูลอิสระนี่แหละมันจะไปทำลายเซลล์ของเรา ทำให้เกิดความแก่ แนะนำให้หาตัวดีมาใช้ครับ ใช้ตอนกลางวันคู่กับกันแดดจะได้ benefits เยอะสุด เพราะจะช่วยดักจับอนุมูลอิสระที่แสงแดดสร้าง กับช่วยรักษาความเสถียรให้กันแดดที่เราทาได้ด้วย B1 = สารต้านอนุมูลอิสระพลังสูง เช่น Vitamin C, Vitamin E, EGCG, Astaxathin และอื่นๆ มีเยอะครับ B2 = สารกระตุ้นสาร AOX Enzyme แนะนำใช้ Melatonin คือจริงร่างการเราสามารถผลิตสารต้านอนุมูลอิสระเองได้นะ ก็คือกลุ่ม AOX Enzyme ซึ่งความสามารถของมันทรงพลังมากๆ แต่มันก็มีช่วงดรอปได้และช่วงไหนที่อนุมูลอิสระเยอะเกินมันก็สู้ไม่ได้ ถ้ากระตุ้นจุดนี้ได้คือปัง B3 = สารกระตุ้นกระบวนการ Autophagy มันคือกระบวนการกลืนกินเซลล์ที่ไม่สมประกอบแล้วเอามารียูสใหม่ให้สมบูรณ์มากขึ้น ฟังก์ชั่นได้ดีขึ้น ไม่ลอยเป็นเซลล์ง่อยๆขัดขวางชาวบ้านไปวันๆ จริงๆสารกลุ่มนี้มีหลายตัวที่น่าสนใจ เช่นพวก Resveratrol หรือ Tranexamic acid ก็กระตุ้นได้นะ C = กระตุ้นคอลลาเจน พออายุมาขึ้น คอลลาเจนมันก็หายไปเรื่อยๆ ผมเราก็เหี่ยวลงๆ การกระตุ้นคอลลาเจนก็เป็นอะไรที่ต้านแก่เป็นตรงไปตรงมามาก ถ้าเธอจะลด ฉันก็จะเพิ่มให้เอง แต่จริงๆมันไม่ใช่แค่คอลลาเจนนะที่หายไป มันยังมีกลุ่มที่เกี่ยวข้องอื่นๆด้วยซึ่งผมขอโฟกัส 3 ตัวนี้ครับ C1 = กระตุ้นคอลลาเจน C2 = กระตุ้น Elastin C3 = กระตุ้น Hya D = ลดเม็ดสี อันนี้จะเป็นเรื่องที่เฉพาะบุคคลครับ บางคนมีนี้ปัญหาเยอะ บางคนมีน้อย ต่างกัน แต่ที่เห็นตรงกันคือการมีสีที่ดูสม่ำเสมอไม่มีรอยด่างดำจากสิว จากฝ้า จากแดด ก็จะทำให้ผิวดูสดใส E = ต้าน Glycation มันคือกระบวนการที่น้ำตาลทำปฏิกริยากับโปรตีนทำให้เกิดความเสื่อมที่ไม่สวยงามกับผิว จะเกิดเป็นผิวหยาบกร้าน ริ้วๆ คลื้นๆ หมองๆ เหลืองๆ เราสารยั้บยั้งชะลดมันได้ด้วยสาร Carnosine ครับ  ____________________________________ [ โปรดักส์ที่คัดมาแล้วว่าทำถึง ] จริงๆโปรดักในตลาดมีหลายตัวนะครับที่สามารถทำบางอย่างในพีรามิดได้ บางโปรดักส์ก็ทำให้พร้อมกันหลายข้อ แต่ผมจะคัดตัวที่งานวิจัยและงานวัดผลใน Final product เยอะแนะน่าเชื่อถือมาให้ ซึ่งทั้งหมดคือ ISDIN ไม่ต้องสงสัยเลย ผมใช้เองหมดจนไม่ได้นับขวดแล้วทุกตัว ทิ้งพิกัด afflink ของผมให้ใต้รูปนะครับ
Show more
1
"มองให้ลึก...ถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่ เมื่อเด็กชายขอบสังคมเมืองต้องเผชิญชะตากรรมที่คุณอาจไม่เคยรู้" . หลายคนอาจมองว่าเด็กที่กระทำผิดกฎหมายคือ "เด็กเกเร" แต่เบื้องหลังพฤติกรรมเหล่านั้น มีเรื่องราวที่ซับซ้อนและน่าเศร้ากว่าที่คุณคิด . ปัญหาที่มองไม่เห็น เด็กชายขอบสังคมเมืองกว่า 70% มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวล และกว่าครึ่งเคยมีความคิดฆ่าตัวตาย สาเหตุสำคัญมาจากการถูกตีตรา การถูกเลือกปฏิบัติ และความรุนแรงที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน . การเข้าไม่ถึงบริการพื้นฐาน - ขาดโอกาสทางการศึกษาเพราะไม่มีเอกสารยืนยันตัวตน - ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข - ถูกปฏิเสธการจ้างงานเพราะมีประวัติคดีติดตัว . "เด็กดี ๆ คนหนึ่ง อาจกลายเป็นเด็กที่มีคดีติดตัวได้ เพียงเพราะความยากจนและปัญหาครอบครัวผลักดันให้พวกเขาต้องเดินบนเส้นทางผิดกฎหมาย" . สาเหตุหลัก: - ความยากจน - ครอบครัวแตกแยก - การถูกทอดทิ้ง - ความรุนแรงในครอบครัว . การนำเด็กเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตั้งแต่อายุยังน้อย ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด แต่การให้โอกาสและการสนับสนุนที่เหมาะสมต่างหากที่จะช่วยให้พวกเขากลับมายืนหยัดได้อีกครั้ง . เราทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ด้วยการ: - เปิดใจยอมรับและไม่ตีตรา - สนับสนุนองค์กรที่ช่วยเหลือเด็กชายขอบ - สร้างความเข้าใจในสังคม . "Look Deeper... Into the Hidden of Children in Conflict with the Law, You May Never Have Imagined" . Many may label children who break the law as "troublemakers," but behind those actions lies a more complex and heartbreaking reality. . The Unseen Problem Over 70% of children in conflict with the law suffer from depression or anxiety, and more than half have contemplated suicide. The main causes stem from stigmatization, discrimination, and daily violence they endure. . Barriers to Basic Services - Lack of educational opportunities due to missing identity documents - Inability to access public healthcare services - Denied employment due to a criminal record . "A good child can end up with a criminal record simply because poverty and family problems push them onto the wrong path." . Root Causes: - Poverty - Broken families - Neglect - Domestic violence . Bringing children into the justice system at a young age is not the best solution. Providing opportunities and appropriate support is what truly helps them stand back up. . We can all be part of the change by: - Opening our hearts to accept and not stigmatize - Supporting organizations that help children in conflict with the law - Promoting understanding within society . #สายเด็ก1387# #Saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #วัยรุ่นร้อนอาชีพ# #wehavedreams2# #VWEF# #เส้นทางสู่ฝัน# #เด็กและเยาวชน# #แรงบันดาลใจ#
Show more
2
อยากเล่าให้ฟัง... ✨ กลยุทธ์ใหม่ของ Finnomena ซึ่งเป็น Private Call ลับเฉพาะนักลงทุนของเราเท่านั้น!🎯 ด้วยโมเดล Robotic Investment (ROBIN) กำหนดจุดซื้อ-จุดขายเป็นระบบ ✅ ผ่านการทำ Live Test ที่ Win Rate สูงถึง 88% จะว่าเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่นักลงทุนก็ได้ กับการเปิดตัว Private Call กลยุทธ์การลงทุนใหม่ด้วยระบ Robotic Investment (ROBIN) สำหรับผู้ลงทุน Private Wealth & Ultra ของ Finnomena ✨ ความน่าสนใจของระบบ ROBIN คือ เป็นระบบแจ้งสัญญาณการลงทุนโดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคกำหนดจุดซื้อและจุดขาย เพื่อสร้างกลยุทธ์การลงทุนอย่างเป็นระบบ (Systematic) ช่วยลดอคติที่เกิดจากการตัดสินใจของมนุษย์ 🔥 สินทรัพย์เป้าหมายของการทำระบบแจ้งเตือนสัญญาณ จะอยู่ในรูปแบบของดัชนีหรือกองทุน ETF ที่มีกองทุนรวมในไทยนำเงินไปลงทุนหรือมีความเคลื่อนไหว (Correlation) ใกล้เคียงกัน เช่น ดัชนี S&P 500, NASDAQ 100, Russell 2000, และ SPDR Select Sector Fund – Financial (XLF) เป็นต้น ทุกกลยุทธ์ได้ผ่านการทดสอบย้อนหลัง (Backtesting) 10 ปี และมีการทำ Forward Test (Live) ผ่านการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติ ผลตอบแทนคิดแบบหลักหักค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย (net of fee) ในการทำ Backtesting ✅ เหมาะกับนักลงทุนที่มุ่งหวังผลตอบแทนระยะสั้นถึงกลาง (1-3 เดือน) ROBIN ใช้ตัวชี้วัดหลัก 2 ตัว 1️⃣ Win Rate ยิ่งสูงเท่าไหร่ หมายความว่ายิ่งมีโอกาสได้กำไรมากขึ้น 2️⃣ Profit Factor หากมากกว่า 1 แสดงว่าได้กำไรมากกว่าขาดทุน ยิ่งค่านี้สูงก็ยิ่งดี ตัวอย่างกลยุทธ์ของ ROBIN และสถิติ Win Rate - Profit Factor จากการทำ Backtest 10 ปี ✨ กลยุทธ์ Market Breadth กับดัชนี S&P 500 ใช้หลักการจับจังหวะเข้าซื้อในตลาดที่มีแนวโน้มขาขึ้นระยะยาว ถึงแม้ว่าในระยะสั้นภาพรวมหุ้นในตะกร้าดัชนีแสดงแนวโน้มขาลง - Win Rate 76% - Profit Factor 2.6 ✨ กลยุทธ์ CABB กับ iShares Global Clean Energy UCITS ETF (INRG) การเข้าซื้อ/ขายออกด้วย Bollinger Band สามารถทำได้ทั้งในลักษณะ Contrarian (ซื้อเมื่อราคาแตะขอบล่าง ขายเมื่อราคาแตะขอบบน) หรือ Trend Following (ซื้อเมื่อราคาแตะขอบบน ขายเมื่อราคาแตะขอบล่าง) - Win Rate 65% - Profit Factor 3.2 ✨ กลยุทธ์ WVF Reversion กับ Invesco Leisure and Entertainment ETF (PEJ) มองหาจุดกลับตัวของราคา โดยสังเกตเมื่อ WVF มีค่าเพิ่มสูงขึ้น เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าราคาสินทรัพย์นั้น ๆ ลดลงจนถึงระดับต่ำและอาจจะกลับขึ้นไปอีกครั้ง ซึ่งเป็นโอกาสในการซื้อในราคาต่ำ - Win Rate 77% - Profit Factor 3.5 🔥 สถิติจากการ Forward Test โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2024 เกิดสัญญาณซื้่อทั้งหมด 9 ครั้ง สามารถสร้างผลกำไรได้ 8 ครั้ง คิดเป็นอัตรา Win Rate ที่ 88.89% Profit Factor 17.53 *กำไรสุทธิจาก Forward Test คำนวณโดยใช้สมมติฐานค่าธรรมเนียมขาเข้าที่ 1.5% โดยบวกรวมเข้าไปในราคาซื้อ (Price In) ของดัชนีหรือกองทุนนั้น ๆ *ตารางผล Forward Test แสดงเฉพาะเทรดที่ขายออกและรับรู้ผลกำไร/ขาดทุนแล้วเท่านั้น ✅ ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2024 ได้เกิดสัญญาณแรกแล้ว เป็น “จังหวะเข้าซื้อ” SPDR Finance สามารถติดตามคำแนะนำแบบเต็ม ๆ ได้ที่ Opportunity Hub ของ Finnomena 👉
Show more
0
💬🌍 เปิดมุมมองความร่วมมือกับแนวคิด The Key Drivers for Inclusive Green Transition ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำ มีแนวทางอย่างไร มาดูกัน! 🥰 . #ยิ่งเร่งเปลี่ยนยิ่งเพิ่มโอกาส# #ESGSymposium2024# #DrivingInclusiveGreenTransition# #SCG# #PassionforInclusiveGreenGrowth# #ESG#
Show more
0
👀🌍 พาเจาะลึกเนื้อหาสำคัญ “Asean Perspective” ในการทำ Green Transition ระดับ Global 💚 มีมุมมองที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง ไปดูกัน 👇 #SCG# #SCGThePossibilities# #เป็นไปได้ไปด้วยกัน# #ยิ่งเร่งเปลี่ยนยิ่งเพิ่มโอกาส# #PassionForInclusiveGreenGrowth# #NetZeroSociety# #SCG# #ESG#
Show more
0
ธุรกิจยุคใหม่ก็จัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพได้! 💡🌍 . ด้วยระบบบริหารจัดการพลังงานสะอาด Smart Grid Solution ที่ช่วยลดต้นทุนได้ถึง 6% ต่อปี และลดการปล่อย CO2 ได้ถึง 4,000 ตัน/ปี 🚗💨 #ยิ่งเร่งเปลี่ยนยิ่งเพิ่มโอกาส# #ESGSymposium2024# #DrivingInclusiveGreenTransition# #SCG# #ESG#
Show more
0
⚡ เปลี่ยนสกิลเล่นเกมเป็นเงิน!! Side hustle ที่สายเกมเมอร์ห้ามพลาด Side Hustle คืออะไร? พูดง่ายๆ ก็คือ “งานเสริม” นั่นแหละ เป็นการหารายได้เพิ่มเติมที่สามารถทำควบคู่กับงานประจำได้ เป็นอีกโอกาสที่จะช่วยสร้างรายได้ในเวลาว่าง!! #SideHustle# เหล่านี้ที่อาจเป็นโอกาสทองในการสร้างรายได้ จะมีอะไรบ้างมาดูกัน!! 💻สตรีมเมอร์สายเทพ : เล่นเกม พูดเก่ง ได้ทั้ง ดอม ได้ทั้ง ซับ 🕹️แคสต์เกมสายมันส์ : เล่าเพลิน แชร์ทริกปัง คนดูรัก คนสนับสนุน 🏆โปรเพลย์เยอร์สายแข่ง : โชว์สกิล ลุย Esports ลุ้นเงินรางวัล สร้างชื่อเสียง 🎮โค้ชเกมสายเซียน : เปิดคอร์สติว พาผู้เล่นสู่โปร! 🛒สายฟาร์มไอเทม : ขายของแรร์ เงินเข้าแบบจุกๆ 💬 เล่นเกมก็สามารถสร้างรายได้ให้คุณได้ พร้อมลุยกันหรือยัง? #CIMBTHAIBANK# #ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย# #MOVINGFORWARDWITHYOU# #SideHustle# #สายเกมเมอร์#
Show more
0
เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวเกี่ยวกับเด็กที่ก่อเหตุอาชญากรรมจนกลายเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมว่า เด็กควรรับโทษเทียบเท่าผู้ใหญ่หรือไม่? บางคนเชื่อว่า “ความผิดก็คือความผิด” แต่ในขณะเดียวกันก็มีเสียงสะท้อนว่า การลงโทษอย่างรุนแรงกับเด็กอาจไม่ใช่คำตอบ . ในหลายประเทศทั่วโลก กำหนดอายุขั้นต่ำของการรับผิดชอบทางอาญาไว้ที่ 15 ปี เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ยังไม่เจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างเต็มที่ วุฒิภาวะและความสามารถในการตัดสินใจยังไม่สมบูรณ์ การกระทำที่ผิดพลาดของเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เขาเติบโตมา ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ขาดการดูแล หรือชุมชนที่เต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยง การลงโทษจึงอาจไม่ช่วยแก้ไขพฤติกรรม แต่กลับเพิ่มปัญหาในระยะยาว การให้โอกาสพวกเขาเรียนรู้และปรับตัวจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า . ในประเทศไทย ประมวลกฎหมายอาญากำหนดอายุขั้นต่ำในการรับผิดชอบทางอาญาไว้ที่ 10 ปี เด็กที่อายุต่ำกว่านี้ แม้การกระทำของพวกเขาจะนับเป็น “ความผิด” แต่กฎหมายไม่เอาโทษใด ๆ และสำหรับเด็กอายุ 10-15 ปี หรือ 15-18 ปี ศาลจะใช้มาตรการพิเศษ เช่น การว่ากล่าวตักเตือน การคุมประพฤติ หรือการส่งเข้าสถานฝึกอบรมแทนการลงโทษ . อย่างไรก็ตาม อายุขั้นต่ำที่ 10 ปี ยังคงต่ำเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล องค์การสหประชาชาติได้แนะนำในข้อเสนอแนะทั่วไป ฉบับที่ 24 ว่าอายุขั้นต่ำควรอยู่ที่ 12 ปีเป็นอย่างน้อย และควรพิจารณาเพิ่มให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ประเทศไทยจึงควรผลักดันให้เพิ่มอายุขั้นต่ำจาก 12 ปี เป็น 14 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานนี้ . เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ พวกเขายังอยู่ในช่วงวัยที่ขาดวุฒิภาวะและความรู้สึกผิดชอบชั่วดี การกระทำที่ผิดพลาดอาจเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมหรือการเลี้ยงดูมากกว่าความตั้งใจของเด็กเอง การลงโทษเพียงเพื่อความสะใจของสังคมอาจไม่สร้างประโยชน์อะไร แต่หากเรามุ่งเน้นการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผ่านการเรียนรู้ เด็กเหล่านี้จะมีโอกาสเติบโตเป็นพลเมืองที่ดี . การเพิ่มอายุขั้นต่ำไม่ใช่แค่การปรับปรุงกฎหมาย แต่เป็นการยืนยันว่าเด็กทุกคนควรได้รับโอกาสที่ยุติธรรมในการเรียนรู้และแก้ไขความผิดพลาด ชีวิตของพวกเขายังมีโอกาสอีกยาวไกล และหน้าที่ของสังคมคือการมอบโอกาสให้พวกเขากลับมายืนในเส้นทางที่ถูกต้องและเป็นกำลังสำคัญของสังคมในอนาคต . CR. . #สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #เด็กชายขอบสังคมเมือง# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF#
Show more
3
ในสังคมที่ทุกบริการของภาครัฐผูกโยงกับเอกสารสำคัญ เด็กบนท้องถนน และเด็กชายขอบในสังคมเมืองกลับต้องเผชิญกับอุปสรรคสำคัญ นั่นคือ การขาดใบเกิดและเอกสารยืนยันตัวตน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองข้าม แต่สำหรับเด็กเหล่านี้ มันคือประตูสู่สิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารับการรักษาพยาบาล การเข้าเรียน หรือการเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียม . ขั้นตอนที่ซับซ้อนกับความหวังที่ริบหรี่ แม้บริการของภาครัฐจะถูกออกแบบมาเพื่อคนทุกกลุ่ม แต่ในความเป็นจริง การเข้าถึงระบบเหล่านี้สำหรับเด็กไร้เอกสารกลับเต็มไปด้วยความยุ่งยาก การขอทำใบเกิดย้อนหลังหรือการออกเอกสารใหม่ต้องติดต่อหน่วยงานหลายฝ่าย ทั้งยังต้องใช้เวลาและข้อมูลยืนยันมากมาย ซึ่งสำหรับเด็กบนท้องถนนที่ขาดทั้งผู้ดูแลและหลักฐานพื้นฐาน สิ่งเหล่านี้แทบจะเป็นไปไม่ได้ . ความจำเป็นของใบเกิด: สิทธิเบื้องต้นที่ไม่ควรมองข้าม การไม่มีใบเกิดหรือบัตรประชาชนทำให้เด็กต้องถูกกีดกันออกจากสิ่งที่คนทั่วไปมองว่าเป็นเรื่องปกติ เช่น การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือการเข้าเรียนในโรงเรียนอย่างถูกต้องตามระบบ นอกจากนี้ เด็กกลุ่มนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกมองข้ามและไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งส่งผลกระทบต่ออนาคตของพวกเขาในระยะยาว . รัฐทำอะไรไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่เพียงพอ ปัจจุบันมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมกิจการเด็กและเยาวชน และองค์กรเอกชนที่พยายามช่วยเหลือเด็กไร้เอกสารผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น การรับแจ้งเกิดย้อนหลังและการสนับสนุนด้านกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ระบบยังมีช่องว่างใหญ่ เช่น การขาดความต่อเนื่องในการติดตามเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือข้อจำกัดในงบประมาณและบุคลากรที่ลงพื้นที่จริง . สิ่งที่รัฐควรทำเพื่อโอกาสที่เท่าเทียม รัฐควรปรับปรุงระบบให้เป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยพัฒนาช่องทางการให้บริการที่ยืดหยุ่น เช่น การลดเอกสารที่จำเป็น หรือการสร้างระบบเคลื่อนที่ที่ลงไปช่วยเหลือในพื้นที่ชายขอบ นอกจากนี้ ควรฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจถึงปัญหาเฉพาะของเด็กไร้เอกสาร เพื่อให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือได้อย่างแท้จริง . บริการของรัฐเป็นมิตรจริงหรือ? ในขณะที่ผู้ใหญ่เองยังมองว่าระบบราชการเป็นเรื่องซับซ้อน แล้วสำหรับเด็กบนท้องถนนที่ไร้ทั้งผู้สนับสนุนและความรู้เรื่องระบบต่าง ๆ ล่ะ? การเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมยังคงเป็นความท้าทาย เด็กเหล่านี้ต้องการระบบที่พร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างแท้จริง ไม่ใช่ระบบที่เต็มไปด้วยอุปสรรคและความล่าช้า . ขาดเอกสาร = ขาดอนาคต เด็กที่ไร้เอกสารไม่ได้สูญเสียเพียงกระดาษแผ่นเดียว แต่พวกเขาสูญเสียอนาคต โอกาสที่จะได้เรียน ได้รับการรักษาพยาบาล และสิทธิที่ควรมีในฐานะพลเมือง เราทุกคนในสังคมมีบทบาทในการผลักดันให้เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิของพวกเขาอย่างเท่าเทียม เพราะเด็กทุกคนสมควรได้รับโอกาสที่จะสร้างชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเกิดมาในสถานการณ์ใดก็ตาม . #สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF# #ยุติการเลือกปฏิบัติ#
Show more
1
ทุกคนควรได้เรียน เพราะการศึกษาคือสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใคร มาจากไหน . น้องๆ รู้มั้ย? การศึกษาไม่ใช่แค่เรื่องของการได้เรียนหนังสือ แต่มันคือสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กทุกคนควรได้รับ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานะทางสังคม . - รัฐธรรมนูญ มาตรา 54 บอกชัดว่า รัฐต้องจัดการศึกษาฟรี 12 ปี ให้เด็กทุกคนตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ - พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติยังกำหนดให้ทุกคนมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกันในการรับการศึกษา โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย - สำคัญมากๆ! กฎหมายยังห้ามการเลือกปฏิบัติด้วยนะ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก มาตรา 22 บอกว่า ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ และห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม . แต่ความเป็นจริง ยังมีเด็กอีกมากที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ โดยเฉพาะเด็กเร่ร่อนและเด็กชายขอบในเมือง ด้วยอุปสรรคมากมาย . เพราะทุกคนมีสิทธิที่จะฝัน มีสิทธิที่จะเรียนรู้ และมีสิทธิที่จะพัฒนาตัวเองอย่างเท่าเทียม . Everyone deserves to learn, because education is a fundamental right of every child, no matter who they are or where they come from. . Did you know? Education is not just about going to school, but it is a basic human right that every child should receive, without limitations due to social status. . The Constitution, Section 54, clearly states that the state must provide 12 years of free education to all children from pre-school to the end of compulsory education. . The National Education Act also stipulates that everyone has equal rights and opportunities to receive education, free of charge. . Very important! The law also prohibits discrimination. The Child Protection Act, Section 22, states that the best interests of the child must be taken into account and that unfair discrimination is prohibited. . But the reality is that there are still many children who cannot access education, especially street children and children in conflict with the law, due to many obstacles. . Because everyone has the right to dream, the right to learn, and the right to develop themselves equally. . #สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #VWEF# #การศึกษา# #เรียนฟรี#
Show more
0
คุณเคยเดินผ่านเด็กที่นั่งอยู่บนฟุตปาธข้างถนนแล้วนึกสงสัยไหมว่าพวกเขาเป็นใคร? เคยคิดไหมว่าพวกเขาอาจไม่มีโอกาสเหมือนเด็กคนอื่นเพียงเพราะเกิดมาในสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวย? ไม่สำคัญว่าเราจะเรียกพวกเขาว่าอะไร เด็กชายขอบสังคมเมือง เด็กนอกระบบ เด็กไร้บ้าน เด็กเร่ร่อน หรือเด็กด้อยโอกาส สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราปฏิบัติต่อพวกเขายังไง? . น่าเศร้าที่ในสังคมไทยยังคงมีการเลือกปฏิบัติต่อเด็กชายขอบสังคมเมืองและเด็กบนท้องถนน พวกเขาถูกมองด้วยสายตาที่แตกต่าง ถูกตีตรา และถูกกีดกันออกจากโอกาสต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น เด็กชายขอบบางคนถูกปฏิเสธการเข้าโรงเรียนเพราะไม่มีเอกสารยืนยันตัวตน หรือถูกมองว่า "ไม่เหมาะสม" ในการเรียนร่วมกับเด็กคนอื่น บางคนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจมองด้วยความระแวงสงสัย ถูกเลือกปฏิบัติ จนไม่กล้าแม้แต่จะขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ เมื่อประสบปัญหา หรือถูกทำร้ายร่างกาย . เด็กเหล่านี้รู้สึกถูกทอดทิ้ง มองตัวเองเป็นคนนอก ไม่กล้าที่จะฝันหรือมองหาชีวิตที่ดีกว่า เพราะถูกตีตราอยู่เสมอ เด็กเหล่านี้เคยเลือกที่จะเกิดได้ไหม? แล้วทำไมพวกเขาต้องถูกเลือกปฏิบัติเพียงเพราะต้นทุนชีวิตของพวกเขาต่างจากคนอื่น? . ปัญหาที่สำคัญคือการเข้าไม่ถึงระบบของรัฐ เด็กบนท้องถนนมักไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา การรักษาพยาบาล และโอกาสในการทำงาน เพราะขาดเอกสาร หรือมีประวัติที่ทำให้สังคมมองพวกเขาอย่างไม่เป็นธรรม ระบบของรัฐควรจะถูกออกแบบมาเพื่อเข้าถึงทุกคน ไม่ใช่เพียงแค่กลุ่มคนที่มี "สิทธิ" ในระบบเท่านั้น . จริงอยู่ที่ภาครัฐได้มีโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ เหล่านี้ เช่น โครงการเรียนทางไกล การศึกษานอกระบบ หรือคลินิกเคลื่อนที่ รวมถึงการทำงานร่วมกับ NGOs แต่บางโครงการก็ยังขาดความต่อเนื่อง มีทรัพยากรไม่เพียงพอ หรือไม่ตอบโจทย์ความต้องการของเด็กเหล่านี้ ที่สำคัญคือบริการที่เป็นมิตรต่อเด็ก ๆ เหล่านี้ เช่นการปฏิบัติตัวต่อเด็กของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ หรือการทำงานที่ซับซ้อนของระบบภาครัฐ เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง อยากเห็นนโยบายที่ยืดหยุ่น ที่เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ สามารถเข้าเรียนที่ตอบโจทย์ และเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ และการบริการที่เป็นมิตรของภาครัฐ อยากเห็นการรณรงค์เพื่อลดการตีตรา และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กบนท้องถนน และเด็กชายขอบในสังคม และอยากเห็น "พื้นที่ปลอดภัย" ที่เด็ก ๆ เหล่านี้ จะได้รับโอกาสในการเรียนรู้ และพัฒนาตัวเอง โดยไม่ถูกมองข้าม เด็กบนท้องถนนและเด็กชายขอบ ไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่เราทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อมอบโอกาส และช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้น . #สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF# #ยุติการเลือกปฏิบัติ#
Show more
1
"ผมเคยคิดว่าการเริ่มต้นชีวิตใหม่เป็นเรื่องง่าย แค่ตั้งใจทำงาน แต่ความจริงคือ... ทุกครั้งที่ผมยื่นใบสมัคร สายตาที่มองกลับมามันบอกทุกอย่าง เมื่อเขารู้ว่าผมเคยมีประวัติ" . เด็กและเยาวชนชายขอบจำนวนมากต้องเผชิญกับกำแพงที่มองไม่เห็นเมื่อก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน ไม่ใช่เพราะพวกเขาขาดความสามารถ แต่เพราะสังคมยังติดอยู่กับอดีตหรืออคติที่ผูกติดพวกเขาไว้ . การสมัครงานครั้งแรกสำหรับใครหลายคนอาจเป็นเพียงความประหม่า แต่สำหรับเด็กชายขอบ มันคือการเผชิญหน้ากับอคติที่มองไม่เห็น เมื่อแบบฟอร์มต้องการประวัติการศึกษาที่ต่อเนื่อง เอกสารที่ครบถ้วน หรือที่อยู่ถาวร สิ่งเหล่านี้กลายเป็นอุปสรรคชั้นแรกที่พวกเขาต้องเผชิญ . "ช่วงชีวิตที่หายไป" ในประวัติการศึกษาหรือการทำงาน กลายเป็นคำถามที่ตอบยาก เมื่อความจริงคือพวกเขาอาจกำลังพยายามเอาตัวรอดบนท้องถนน หรืออยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย . เมื่อภาพจำกลายเป็นโซ่ตรวน "เด็กเกเร" "เด็กมีปัญหา" "เคยติดคดี" คำเหล่านี้ไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับตัวตนที่แท้จริง ความฝัน หรือศักยภาพของพวกเขา แต่กลับกลายเป็นตราบาปที่ติดตัวไปทุกที่ . นายจ้างหลายคนปฏิเสธโดยอัตโนมัติเมื่อรู้ว่าผู้สมัครเคยมีประวัติผิดพลาดในอดีต โดยไม่ได้มองว่าหลายคนได้ผ่านการเรียนรู้ พัฒนาตัวเอง และพร้อมจะเริ่มต้นใหม่ด้วยความมุ่งมั่น . ทุกคนสมควรได้รับโอกาสครั้งที่สอง การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากเรา จากมุมมองที่เรามีต่อกันและกัน เด็กและเยาวชนเหล่านี้ไม่ได้ต้องการความสงสาร แต่ต้องการโอกาสที่เท่าเทียม โอกาสที่จะพิสูจน์ตัวเอง . หากเราเชื่อว่าทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เราก็ควรให้พื้นที่สำหรับการเริ่มต้นใหม่ เพราะบางครั้ง โอกาสเพียงครั้งเดียวอาจเปลี่ยนชีวิตใครสักคนได้ทั้งชีวิต . "I used to think starting over would be easy—just work hard. But the truth is... every time I hand in a job application, the look they give me says it all—once they find out about my past." . Many marginalized youth face invisible barriers when entering the job market. It’s not because they lack talent or skills, but because society is still stuck on their past and the prejudices attached to them. . For most people, applying for their first job might just come with a bit of nervousness. But for marginalized youth, it means facing unseen biases. When the application asks for continuous education history, complete documentation, or a permanent address, these become the first obstacles standing in their way. . The “missing years” in their education or work history often come with difficult explanations. The truth is, they may have been struggling to survive on the streets or caught up in legal processes beyond their control. When stereotypes become chains. “Troublemaker.” “Problem child.” “Criminal record.” . These labels say nothing about who they really are, their dreams, or their true potential. But they become invisible scars that follow them everywhere. . Many employers automatically reject candidates with troubled pasts, without recognizing how far these young people have come— the lessons they’ve learned, the work they’ve done on themselves, and the determination they have to start fresh. . Everyone deserves a second chance. Change starts with us—with the way we see and treat one another. These youth aren’t asking for pity. They’re asking for equal opportunity—the chance to prove themselves. . If we truly believe people can change, then we must create space for new beginnings. Because sometimes, just one opportunity is enough to change someone’s life forever. . #สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF#
Show more
1
ในสังคมเมืองที่เจริญก้าวหน้า ยังคงมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับความท้าทายในการเข้าถึงการศึกษา เด็กบนท้องถนนและเด็กชายขอบสังคมเมืองมักถูกกันออกจากระบบโรงเรียน ไม่ใช่เพราะขาดความสามารถ แต่เพราะโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจที่ทำให้พวกเขาไม่มีโอกาส แม้ว่าไทยจะมีนโยบายเรียนฟรี แต่ในความเป็นจริง ค่าชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน ค่าเดินทาง และภาระของครอบครัว กลับเป็นกำแพงที่ผลักให้พวกเขาออกห่างจากห้องเรียน ที่สำคัญคือ เนื้อหาที่ใช้สอนในโรงเรียนทั่วไป อาจไม่เหมาะกับเด็กที่มีพื้นฐานการศึกษาน้อยหรือขาดช่วง พวกเขาต้องการหลักสูตรที่สามารถปรับให้เข้ากับบริบทชีวิต และช่วยให้พวกเขาสามารถนำไปใช้จริงได้ . หลายองค์กรพยายามดึงเด็กเหล่านี้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา เช่น มูลนิธิสร้างโอกาสเด็ก มูลนิธิสายเด็ก 1387 และโครงการศึกษาทางเลือกของภาครัฐ แต่ปัญหาที่ยังแก้ไม่ตกคือ บุคลากรทางการศึกษาที่มีจำนวนน้อยเกินไป ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ เด็กที่กลับเข้าสู่ระบบมักต้องเริ่มต้นจากศูนย์ บางคนแม้โตแล้วก็ยังอ่านเขียนไม่ได้เทียบเท่ากับเด็กในระบบ นี่สะท้อนว่าการศึกษาไม่ได้ถูกออกแบบให้รองรับเด็กที่ขาดโอกาสจริง ๆ แต่กลับใช้มาตรฐานเดียวกับเด็กทั่วไป ทำให้การเรียนรู้ของพวกเขายากขึ้น . ภาครัฐมีมาตรการลดการหลุดออกจากระบบการศึกษา เช่น "การศึกษาขั้นพื้นฐานถ้วนหน้า" และแนวคิด Zero Dropout แต่ปัญหายังอยู่ที่การนำไปปฏิบัติจริง แม้รัฐจะมีโครงการช่วยเหลือ แต่ก็ยังมีเด็กจำนวนมากที่ไม่ได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พวกเขาหลุดออกจากระบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า การแก้ไขปัญหานี้ต้องการมากกว่านโยบายที่สวยหรู แต่ต้องเป็นการสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพจริง ตั้งแต่การช่วยเหลือครอบครัว ไปจนถึงการพัฒนาหลักสูตรที่ยืดหยุ่น . คำถามสำคัญคือ Zero Dropout ทำได้จริงหรือไม่? ในปัจจุบัน ยังไม่มีตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม แม้จะมีความพยายามเดินหน้าในหลายโครงการ แต่การทำให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ยังเป็นเป้าหมายที่ต้องต่อสู้ต่อไป สิ่งสำคัญคือ การศึกษาต้องปรับให้เข้ากับเด็ก ไม่ใช่ให้เด็กต้องปรับเข้ากับระบบ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจใช้เวลา แต่ถ้าเริ่มทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เด็กบนท้องถนนและเด็กชายขอบสังคมเมืองจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังอีกต่อไป . Education for Everyone—or Just for Some? In rapidly developing cities, many children still face serious challenges accessing education. Street children and marginalized youth are often left out of the school system—not because they lack ability, but because social and economic structures block their opportunities. . Although Thailand has a free education policy, the reality is different. Uniform costs, school supplies, transportation, and family responsibilities become barriers that push these children away from the classroom. More importantly, standard school curricula often don’t fit the needs of children with limited or interrupted education. These kids need flexible learning programs tailored to their real-life context and practical skills they can actually use. . Many organizations, such as The Foundation for Child Opportunity, Sai Dek 1387 Foundation, and government alternative education projects, work to bring these children back to learning. However, the lack of educational personnel remains a major problem. Kids who re-enter the system often have to start from zero. Some, even as teenagers, still struggle with basic reading and writing skills. This shows that education systems are not truly designed to support children who have been left behind, as they still apply the same standards used for typical students—making learning even harder for these kids. . The government has policies aimed at reducing school dropout rates, such as Universal Basic Education and Zero Dropout. But the real challenge lies in implementation. Despite these programs, many children are not consistently followed up with, causing them to fall out of the system again and again. Solving this problem takes more than good policy—it requires real, effective support, from helping families meet basic needs to developing flexible, adaptive curriculum. . So, the question is: Is Zero Dropout really possible? For now, there is no clear data showing its success. While progress is being made, ensuring all children have access to quality education remains an ongoing fight. . What matters most is this: education should adapt to fit the child—not force the child to fit the system. Real change will take time. But with commitment and consistent action, street children and marginalized youth won’t be left behind anymore. . #สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF# #ยุติการเลือกปฏิบัติ# #การศึกษา# #ZeroDropout# #เรียนฟรี#
Show more
0
“กักขัง” ไม่ใช่คำตอบ – เด็กควรได้รับโอกาส ไม่ใช่กรงขัง การกักขังเด็กไม่ควรเป็นทางเลือกแรก หรือเป็น "ทางเลือกสุดท้าย" ด้วยซ้ำ เด็กบนท้องถนนและเด็กชายขอบสังคมเมืองมักตกอยู่ในวังวนของปัญหา ไม่ใช่เพราะพวกเขาเลือกเดินทางผิด แต่เพราะพวกเขาไม่มีทางเลือกมากพอ การนำพวกเขาเข้าสู่ระบบกักขัง ไม่เพียงแต่ทำลายโอกาสในการศึกษาและพัฒนาตนเอง แต่ยังสร้างบาดแผลทางจิตใจที่ยากจะลบเลือน พวกเขาถูกตราหน้าและถูกผลักให้ออกจากสังคม มากกว่าที่จะได้รับโอกาสในการปรับปรุงตัว . ภาครัฐมีมาตรการรองรับเด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอยู่บ้าง เช่น การจัดตั้งสถานพินิจเยาวชนในบางพื้นที่ แต่ระบบเหล่านี้ยังขาดความครอบคลุม และไม่สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ รัฐยังคงให้ความสำคัญกับการควบคุมตัวเด็ก มากกว่าการฟื้นฟูและให้อีกทางเลือกในการใช้ชีวิต เด็กที่พ้นโทษออกมายังคงเผชิญกับอคติและโอกาสที่ถูกปิดกั้น ซึ่งผลักพวกเขากลับไปสู่วงจรเดิมของความรุนแรงและความเสี่ยง . สิ่งที่รัฐยังละเลยคือการขยายมาตรการทางเลือกแทนการกักขังให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงการลดระยะเวลาการกักขังเด็กให้น้อยที่สุด เด็กไม่ควรถูกขังเป็นเวลานานโดยไม่มีโอกาสแก้ตัว การพัฒนาโครงการฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพ เช่น การแนะแนวอาชีพ การช่วยเหลือทางจิตใจ และการสนับสนุนทางสังคม จะช่วยให้เด็กสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี . การกักขังเด็กไม่ใช่จุดสิ้นสุดของปัญหา แต่มันคือจุดเริ่มต้นของความเหลื่อมล้ำที่ลึกขึ้น ทางออกที่แท้จริงคือการให้โอกาส ไม่ใช่โทษทัณฑ์ เราต้องเลือกว่าจะขังพวกเขาไว้กับอดีต หรือจะเปิดโอกาสให้พวกเขาเดินไปสู่อนาคตที่ดีกว่า . The detention of children should not be the first option—or even the last resort. Street children and marginalized youth often find themselves trapped in cycles of hardship, not because they chose the wrong path, but because they lack sufficient choices. Placing them in detention systems not only strips them of opportunities for education and self-development but also inflicts deep psychological scars that are difficult to heal. They are stigmatized and pushed further to the margins of society, rather than being given the chance to rehabilitate and reintegrate. . The government has implemented some measures for children in the justice system, such as establishing juvenile detention centers in certain areas. However, these systems remain inadequate and fail to address the root causes of the problem. The state continues to prioritize child detention over rehabilitation and alternative solutions. Once released, these children still face prejudice and limited opportunities, which often push them back into the same cycle of violence and risk. . What the government has overlooked is the need to expand alternative measures to detention and minimize the time children spend in custody. Children should not be incarcerated for long periods without the chance to correct their mistakes. Developing effective rehabilitation programs, such as vocational training, psychological support, and social assistance, would enable them to reintegrate into society with dignity. . Detaining children is not the end of the problem; it is the beginning of deeper inequality. The real solution lies in providing opportunities, not punishment. We must decide whether to lock them in their past or open doors for them to walk toward a better future. . #สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF# #ยุติการเลือกปฏิบัติ# #ยุติโทษที่รุนแรงต่อเด็ก#
Show more
0
ชีวิตไม่ได้เลือกให้เราเกิดมาในจุดที่ดีหรือแย่ แต่เราสามารถเลือกที่จะเปลี่ยนชีวิตของตัวเองได้ นี่คือเรื่องราวของเด็กหญิงคนหนึ่งที่เคยเผชิญกับความยากลำบาก แต่ด้วยความช่วยเหลือและโอกาสจากเดอะฮับสายเด็ก ไทสิกขา เธอได้เปลี่ยนชีวิตและสร้างอนาคตใหม่ด้วยสองมือของเธอเอง 📷 . เด็กหญิงเติบโตในครอบครัวใหญ่ที่มีรายได้หลักจากย่า ขณะที่พ่อและแม่ต่างมีปัญหาส่วนตัว แม่มีอาการทางจิตเวช และบ้านเต็มไปด้วยกองขยะ เธอไม่ได้รับการศึกษา ไม่มีทักษะการเข้าสังคม และขาดการดูแลสุขภาพพื้นฐาน เช่น การอาบน้ำหรือแปรงฟัน . แต่เมื่อเธอติดต่อขอความช่วยเหลือผ่านเฟซบุ๊ก เดอะฮับสายเด็กได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือ ตั้งแต่การลงพื้นที่มอบถุงยังชีพ การจัดกิจกรรมศิลปะบำบัด ไปจนถึงการพัฒนาทักษะชีวิต เธอเริ่มต้นเรียนในระบบ กสร. ระดับมัธยมปลาย และได้รับโอกาสฝึกอาชีพด้านการทำอาหาร . ด้วยการสนับสนุนจากเดอะฮับสายเด็ก เด็กหญิงได้เรียนรู้ทักษะด้านการทำอาหาร เช่น - การเตรียมวัตถุดิบ: เริ่มต้นจากพื้นฐานที่เธอไม่เคยทำมาก่อน - การทำเมนูพื้นฐาน: ฝึกฝนจนสามารถประกอบอาหารได้อย่างมั่นใจ - การจัดการครัว: เข้าใจการทำงานในครัวอย่างมืออาชีพ . ประสบการณ์ฝึกงานจริงในโรงแรมช่วยให้เธอเข้าใจโลกของการทำงาน และพัฒนาทักษะจนกลายเป็นพนักงานครัวมืออาชีพ . เส้นทางสู่รายได้ก้อนแรกและอนาคตที่สดใส ปัจจุบัน เด็กหญิงทำงานประจำอยู่ที่แผนกครัวร้อนของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง เธอแบ่งเวลาในการทำงานเพื่อเก็บเงินสำหรับค่าเทอมมหาวิทยาลัยและค่าที่พัก โดยมีเป้าหมายที่จะเรียนต่อในคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อสานต่อความฝัน . เธอบอกว่า "ได้เงินเดือนก้อนแรก หนูดีใจมากค่ะ รู้สึกว่าตัวเองมีค่า สามารถแบ่งเบาภาระคนที่รักได้" . 📷 ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนมุมมอง 📷 เด็กชายขอบไม่ใช่ปัญหา แต่คือคนที่ต้องการโอกาส หากเราเปิดใจและให้พื้นที่แก่พวกเขา โลกใบนี้จะมีเรื่องราวดี ๆ อีกมากมาย 📷 . #สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF# #เส้นทางชีวิต#
Show more
0
จากเด็กที่เคยซ่อมแต่ของเล่น สู่ช่างซ่อมมืออาชีพที่สร้างอนาคตได้ด้วยตัวเอง" เด็กบนท้องถนนและเด็กชายขอบสังคมเมืองหลายคนอาจเคยถูกมองว่าไม่มีอนาคต แต่ในความเป็นจริง พวกเขามีศักยภาพที่ซ่อนอยู่ เพียงแค่ได้รับโอกาสและพื้นที่ในการเรียนรู้ เดอะฮับสายเด็กและไทสิกขา ได้เปิดพื้นที่ให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะอาชีพ เช่น ช่างซ่อมจักรยานยนต์ ช่างไฟฟ้า และช่างเชื่อม ทักษะเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้เขามีงานทำ แต่ยังช่วยสร้างชีวิตใหม่ให้เขาอีกด้วย . โอกาสเริ่มต้นที่การเรียนรู้ ในโครงการ เด็กได้เรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติแบบมืออาชีพ ตั้งแต่พื้นฐานเครื่องยนต์ การใช้เครื่องมือ ไปจนถึงการเชื่อมเหล็กและการดูแลอุปกรณ์ต่าง ๆ ทุกขั้นตอนถูกออกแบบมาเพื่อให้เขาพร้อมสำหรับตลาดแรงงาน . ประสบการณ์จริงสร้างความมั่นใจ หลังจากฝึกฝนในห้องเรียน เด็ก ๆ ยังได้ไปฝึกงานจริงในอู่ซ่อมรถยนต์ ได้เจอปัญหาที่ต้องแก้ไข ได้รู้จักการทำงานร่วมกับทีม และที่สำคัญที่สุดคือ ได้รับเงินก้อนแรกจากน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง ความภูมิใจนี้กลายเป็นแรงผลักดันให้เขาวางแผนอนาคตต่อไป อยากเปิดอู่ของตัวเองและอยากเรียนต่อสายช่างเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญ . ทักษะ = โอกาส = ชีวิตใหม่ ทุกครั้งที่เขาได้ลงมือทำงานจริง มันไม่ใช่แค่การซ่อมเครื่องยนต์ แต่มันคือการซ่อมแซมชีวิตของเขาเอง ทักษะเหล่านี้กลายเป็นสะพานที่นำพวกเขาออกจากวงจรความยากลำบาก สู่ชีวิตที่มีความหวังและมั่นคง . คุณเองก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงนี้ได้! เพียงแค่คุณเปลี่ยนมุมมอง เปิดใจ และสนับสนุนเด็กๆ เหล่านี้ คุณจะได้เห็นว่า "โอกาสเล็ก ๆ" สามารถเปลี่ยนชีวิตของใครบางคนไปตลอดกาล . #สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #เด็กเร่ร่อน# #เด็กบนท้องถนน# #เด็กชายขอบ# #ให้โอกาส# #ส่งต่อพลังใจ# #เปลี่ยนมุมมองสังคม# #VWEF# #เส้นทางอาชีพ# #สร้างอนาคต#
Show more
0
“เสียงของเด็กเร่ร่อน…ไม่ใช่เสียงกระซิบ แต่คือเสียงที่โลกควรได้ยิน” วิดีโอสารคดี Outsider ถ่ายทอดเรื่องราวของเยาวชนที่ใช้ชีวิตในมุมที่สังคมไม่เคยมองเห็น ชีวิตที่ถูกผลักออกนอกระบบ ถูกเรียกว่า เด็กเร่ร่อน เด็กข้างถนน หรือ เด็กนอกสายตา แต่แท้จริงแล้ว...เขาก็เป็นแค่ เด็กคนหนึ่ง เหมือนกัน . เด็กที่เคยมีฝัน เด็กที่ยังมีความสามารถ เด็กที่ยังต้องการโอกาส และเด็กที่ควรได้รับการปฏิบัติ...เหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ . วันเด็กเร่ร่อนสากล 12 เมษายนนี้ เราอยากชวนคุณรับฟังเสียงของพวกเขาให้ชัดขึ้นสักหน่อย เพราะทุกเสียงที่ไม่ถูกขยาย อาจเป็นเสียงของการขอความช่วยเหลือ และทุกสายตาที่เริ่มมองเห็น อาจเปลี่ยนชีวิตของใครบางคนได้จริง ๆ . แชร์เรื่องราวของเด็กเร่ร่อนที่คุณเคยเจอ พร้อมแคปชันที่อยากบอกกับเขา หรือกับสังคมนี้ อย่าลืมติดแฮชแท็กเพื่อขยายเสียงของพวกเขา #ก็แค่เด็กคนหนึ่ง# #JustAChildLikeMe# #12AprilStreetChildrenDay# . เสียงของเขาอาจเปลี่ยนอนาคตได้ ถ้าเราเริ่มตั้งใจฟัง . #สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #เส้นทางขวางฝัน# #ก็แค่เด็กคนหนึ่ง# #JustAChildLikeMe# #12AprilStreetChildrenDay# #วันเด็กเร่ร่อนสากล# #วัยรุ่นร้อยอาชีพ#
Show more
0
🚨โอกาสสุดท้าย…หมดเดือนนี้ ไม่มีแล้ว !! 🏆ติวเข้มติดค่าย 1 #สอวนชีวะ# 💯คอร์สเดียวจบ สรุป+ข้อสอบ+MOCK โปร 2,900 ให้สิทธิ์ถึง “สิ้นเดือน เม.ย. เท่านั้น” รีบสมัครก่อนหมดโปร!! ใครยังลังเล ทดลองเรียนฟรีก่อน 📌 #ชีวะครูฝ้าย# #สอวน# #สอวนชีววิทยา#
Show more
0
การฝันเปียก ประจำเดือน และเรื่องที่ต้องรู้ . มีน้อง ๆ คนไหนรู้สึกอายกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายกันไหมคะ แล้วน้อง ๆ จัดการกับปัญหาเหล่านั้นยังไงบ้างเอ่ย . น้อง ๆ หลายคนอาจเลือกที่จะปรึกษากับคนใกล้ตัว แต่ระวังดี ๆ นะ เพราะมีผู้ใหญ่บางคนใช้โอกาสนี้แสวงประโยชน์ทางเพศด้วย ยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าน้อง ๆ กำลังกลุ้มใจเรื่องขนขึ้นในที่ลับ แล้วเขาคนนั้นพูดว่า “ขอดูหน่อยสิ ว่าเป็นยังไง” หรือกำลังกังวลใจเกี่ยวกับการฝันเปียก แล้วเขาบอกว่า “ต้องพิสูจน์นะ ว่าผิดปกติจริงหรือเปล่า” พอจะเห็นจุดร่วมกันไหมคะ นั่นก็คือการหลอกล่อให้น้อง ๆ โชว์บริเวณลับเพื่อเป็นการ “ตรวจร่างกาย” นั่นเอง เพราะฉะนั้น ถ้าน้อง ๆ รู้สึกว่าต้องการปรึกษาใครสักคนจริง ๆ แนะนำให้บอกคนที่ไว้ใจ หรือจะปรึกษาแพทย์ก็ได้นะ . หรือไม่อย่างนั้น เราอาจตัดความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเพศออกไปแต่แรก เริ่มจากการขจัดความรู้สึกอายก่อนเลยค่ะ การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย เป็นสัญญาณของการเติบโต เมื่อเรามั่นใจแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความกังวลอีก เราก็ต้องดูแลรักษาอวัยวะเพศให้ดี ด้วยการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง (ไม่สวนล้างช่องคลอด, ถลกหนังหุ้มปลายองคชาติเพื่อล้างขี้เปียก) ไม่ใส่กางเกงชั้นในที่รัดแน่นเกินไป เมื่ออวัยวะเพศเปียกต้องเช็ดให้แห้งไม่ให้อับชื้น สำหรับน้องที่มีประจำเดือนควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 3-4 ชม. ไม่ให้หมักหมม เมื่อเรามีสุขอนามัยทางเพศที่ดี ก็หมดความกังวลเรื่องการบาดเจ็บ อักเสบหรือติดเชื้อ แต่ถ้าเราดูแลอวัยวะเพศอย่างดีแล้ว ยังสังเกตได้ถึงความผิดปกติ ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ . โดยสรุป เมื่อเราดูแลอวัยวะเพศอย่างเหมาะสม มั่นใจ ไม่อาย ก็ไม่ต้องกังวล ไม่ต้องให้ใครมา “ตรวจร่างกาย” ของเราโดยไม่มีความจำเป็นค่ะ พี่สายเด็กขอฝากให้น้อง ๆ ดูแลตัวเองด้วยนะคะ ร่างกายของเรา เราเท่านั้นที่มีสิทธิในร่างกายตัวเองค่ะ😉 . #สายเด็ก1387# #saidek1387# #ChildlineThailand# #SUFASEC# #Grooming# #Groomer# #กรูมมิ่ง# #การแสวงหาประโยชน์# #ให้ความรู้เรื่องเพศ# #คุยกับใครไว้ใจได้# #SexEdForTeens#
Show more
0
เมื่อความหวังเกิดจากความร่วมมือ เด็กชายวัย 9 ขวบ ผู้เกิดมาพร้อมความผิดปกติทางร่างกาย ไม่มีรูทวาร ต้องเจาะหน้าท้องเพื่อระบายของเสีย และยังมีโรคไตติดตัว เขาอาศัยอยู่กับคุณยายในห้องเช่าเล็กๆ ใจกลางกรุงเทพฯ คุณยายคือเสาหลักในการหาเลี้ยงและดูแลชีวิตของน้องเพียงลำพัง ชีวิตที่เคยติดอยู่ในมุมมืด…กำลังถูกฉายแสงแห่งความหวังขึ้นใหม่ ด้วยพลังแห่งความร่วมมือของเครือข่าย มูลนิธิอิสรชน ได้ประสาน ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร บ้านรักแท้ และขอขอบคุณผู้บริจาคทุกท่านที่ร่วมจัดหาถุงอุจจาระหน้าท้องที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของน้องได้หลายเดือน เราได้เพื่อประสานให้เด็กชายคนนี้ได้มีที่เรียนอีกครั้ง พร้อมช่วยส่งต่อน้องเข้าสู่ระบบการรักษาอย่างต่อเนื่องกับโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ วันนี้...น้องได้ก้าวเท้าเล็กๆ ไปซื้อชุดนักเรียน หลังจากห่างหายจากการเรียนมานาน เขากำลังเริ่มต้นใหม่อย่างมีความหวัง เรื่องราวนี้เกิดขึ้นได้ เพราะทุกคน "ไม่ทิ้งกัน" ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมกันสร้างอนาคตให้เด็กคนหนึ่งได้มีชีวิตที่ดีกว่าเดิม มูลนิธิอิสรชนขอเป็นสะพานเชื่อมพลังแห่งความเมตตา เพื่อเปลี่ยนความทุกข์ยากให้กลายเป็นโอกาสใหม่เสมอ คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ 📍ขั้นตอนการบริจาคเพื่อลดหย่อนภาษีผ่านเทใจดอทคอม หัก 10% ของเงินบริจาค เข้า 📍บริจาคผ่านบัญชีมูลนิธิโดยตรงได้ที่ (ออกใบเสร็จได้แต่ลดหย่อนภาษีไม่ได้ ) ธนาคารทหารไทยธนชาติ สาขาทองหล่อ ⭐️เลขที่ 182-2-16241-6 ขอรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ line : @issarachonfound #homelesspeople# #homeless# #issarachonfoundation# #chlid# #มูลนิธิอิสรชน# #คนไร้บ้าน# #พิการ# #เด็ก# #เด็กไร้บ้าน# #hope#
Show more
0

下载我们的应用程序

没有弹窗广告

'